1390 จำนวนผู้เข้าชม |
เรื่องนี้ต้องรู้ โครงสร้างหลังคา มีส่วนประกอบและหน้าที่อะไรบ้าง ?
โครงสร้างหลังคา มีส่วนประกอบและหน้าที่อะไรบ้าง?
โครงสร้างหลังคา นี้ถือ เป็นส่วน สำคัญ อย่างหนึ่ง ที่ผู้ก่อสร้างจะต้องคำนึงถึง ความปลอดภัย ของผู้อยู่อาศัย และต้องคำนวณถึงเรื่องการรับน้ำหนักของหลังคา ว่าควรใช้ วัสดุ อะไรมาเป็น โครงสร้าง เพื่อการ รับน้ำหนัก หลังคา ให้คงทน และมีความสวยงาม ดังนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของ โครงสร้างหลังคา
โครงหลังคา คืออะไร ?
โครงหลังคา เป็นโครงที่ทำหน้าที่ รับน้ำหนัก ของวัสดุ มุงหลังคา ให้มีความแข็งแรง และ มั่นคง รวมถึงยัง ทำหน้าที่ ยึดตัวหลังคาบ้าน ให้เชื่อมต่อ กับ โครงสร้างเสาและคาน ของตัวบ้าน โดยควรเลือก โครงหลังคาที่มี ความคงทน ต่อ ทุกสภาพอากาศ รวมถึงควรติดตั้ง ให้ถูกต้อง เพื่อให้หลังคาออกมา ดูเรียบร้อย และ สวยงาม
โดย โครงสร้างหลังคาที่นิยมในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- โครงหลังคาไม้
- โครงหลังคาเหล็ก
- โครงสร้างหลังคาสำเร็จรูป
โครงหลังคาไม้
นิยมใช้กันมากในสมัยก่อน เพราะต้นทุนของวัสดุต่ำ ขั้นตอนการปลูกสร้าง ก็ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องใช้เครื่องมือมาก แต่ในปัจจุบัน บ้านเรือนส่วนใหญ่จะปลูกเป็นตึก ประกอบกับไม้เป็นวัสดุที่หายาก และมีราคาแพงขึ้น โดยเฉพาะไม้คุณภาพดี ที่ให้ความแข็งแรงทนทาน และคงรูปก็ยิ่งหายาก และมีราคาแพง นอกจากนี้ โครงหลังคาไม้ ยังอาจมีปัญหาของปลวกเกิดขึ้นได้ในภายหลัง ฉะนั้นโครงหลังคาไม้ จึงไม่เป็นที่นิยมทำกันในปัจจุบัน สำหรับอาคารบ้านเรือนทั่วไปที่เป็นตึก แต่ยังมีใช้กันอยู่สำหรับบ้านไม้
โครงหลังคาเหล็ก
เป็นโครงหลังคาที่นิยม ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน เพราะเหล็กเป็นวัสดุที่หาง่ายใน ท้องตลาด อีกทั้งมีรูปแบบ และขนาดต่าง ๆ ให้เลือก มากมาย เพื่อให้เหมาะสม กับการรับน้ำหนัก และรูปทรง ที่แตกต่างกัน ของบ้านเรือนแต่ละหลัง นอกจากนี้ เหล็กยังเป็นวัสดุ ที่ให้ความแข็งแรง และความคงรูป เป็นอย่างดี ปราศจาก ปัญหาเรื่องปลวก ในแง่ของความคงทน และอายุการใช้งานนั้น เหล็กที่ผ่านกรรมวิธีป้องกันสนิม เช่น การชุบสังกะสี หรือการเคลือบสีอย่างดี จะมีอายุการใช้งาน ยาวนานหลายสิบปี ในสภาพใช้งานปกติ
โครงสร้างหลังคาสำเร็จรูป
เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรม เพื่อให้เป็นทางเลือกใหม่ในการสร้างหลังคาที่ปลอดภัยและช่วยให้เจ้าของบ้านประหยัดทรัพยากรให้ได้มากที่สุด เป็นโครงหลังคาที่ผลิตจากเหล็กกำลังดึงสูง G550 ซึ่งสูงกว่าเหล็กรูปพรรณถึง 2 เท่า ติดตั้งด้วยระบบสกรู (Screw) ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดสนิมน้อยกว่าการเชื่อมและสามารถตรวจสอบด้วยตาเปล่าได้ ตัววัสดุเหล็กถูกเคลือบโลหะป้องกันสนิมจากโรงงานไม่ต้องทาสีกันสนิมที่หน้างานและไม่ต้องเชื่อม ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานและช่วยประหยัดค่าโครงสร้างบ้านจำพวกเสาและคานบางส่วน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการทำโครงสร้างบ้านลดลงตามไปด้วย
ส่วนประกอบและหน้าที่ของโครงสร้างหลังคา มีดังนี้
แป หรือ ระแนง (Batten)
– ทำหน้าที่รองรับกระเบื้องหลังคา ประเภทต่าง ๆ มีลักษณะ เป็นไม้ สี่เหลี่ยม จตุรัส ที่วางอยู่บนจันทัน วางห่างกันตามขนาด ของกระเบื้อง ที่ใช้โดยวาง ขนานกับแนวอกไก่
จันทัน (Rafter)
– ส่วนที่วางเอียง ตามลักษณะ ของหลังคา วางอยู่บนอเสและอกไก่ มีหน้าที่รองรับแป สำหรับรับกระเบื้องมุงหลังคา โดยปกติจะวางเป็นระยะทุก 1 เมตร มีทั้งวางบนหัวเสา และ ไม่ได้วางพาดบนหัวเสา ซึ่งระยะห่างนั้นก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนัก ของวัสดุ มุงหลังคาและ ระยะแป
อกไก่ (Ridge)
– วางพาด อยู่บนดั้ง บริเวณสันหลังคา เพื่อรับน้ำหนัก จันทันตามแนวสันหลังคา อยู่บริเวณส่วนกลางของหลังคา รวมถึงมีหน้าที่ แบกรับน้ำหนักของจันทัน ทุกตัว ทั้ง 2 ด้าน
ดั้ง (King Post)
– เสาเสริม ที่คอยทำหน้าที่รองรับอกไก่ เมื่อตำแหน่งของอกไก่ วางไม่ตรงกัน เสาของอาคาร
ขื่อ ( Tie Beam)
– เมื่อดั้งเข้ามาแบกรับน้ำหนัก และถ่ายน้ำหนัก ต่อไป ยังคาน จึงต้องมี ขื่อ เพื่อแบกรับดั้ง และถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาอาคาร ต่อไป
อเส (Stud Beam)
– คานชั้นบนสุด ของอาคาร ที่ยึดปลายเสา ตอนบน เพื่อทำให้โครงสร้าง มีความแข็งแรง และ ถ่ายเทน้ำหนักลงสู่เสา มีหน้าที่ช่วย แบกรับน้ำหนัก ของจันทัน แต่ละตัว
เชิงชาย
– มีหน้าที่บดบัง ความไม่สวยงาม จากปลายชายคา ของจันทันทุกตัว ป้องกันการผุ ของไม้ ที่ปลายจันทัน จากการโดนแดด และ ฝน
แหล่งที่มาข้อมูล : www.hdwatsadu.com/โครงสร้างหลังคา/